วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

The Montfort Brothers of St. Gabriel

คณะภราดาเซนต์คาเบรียล (อังกฤษ: The Montfort Brothers of St. Gabriel) เป็นคณะนักบวชหนึ่ง ในพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ขึ้นตรงต่อสมเด็จพระสันตะปาปา
นักบุญหลุยส์มารี เดอ มงฟอร์ต เป็นผู้สถาปนาคณะ

และคุณพ่อคาเบรียล แดแฮร์ เป็นผู้ฟื้นฟูคณะ


มีศูนย์กลางของคณะที่กรุงโรม สาธารณรัฐอิตาลี ทำงานรับใช้พระเป็นเจ้าผ่านทางการให้การศึกษาแก่เยาวชน และเอาใจใส่เป็นพิเศษต่อคนยากจน ตามจิตตารมย์ของนักบุญมงฟอร์ต ปัจจุบัน มีภราดาเรอเนย์ เดอลอม เป็นอัคราธิการเจ้าคณะเซนต์คาเบรียล คำว่า "ภราดา" หมายถึง "พี่น้อง"



ปัจจุบัน อธิการเจ้าคณะภราดาเซนต์คาเบรียลแขวงประเทศไทย องค์ปัจจุบันคือ ภราดาศิริชัย ฟอนซิกา


วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

Social contract


สัญญาประชาคม ( Social contract) ในความหมายที่นำมาใช้ในการเมืองไทยปัจจุบัน หมายถึง ความตกลงร่วมกันของประชาชน กลุ่มผลประโยชน์ร่วมกันหรือกลุ่มคนที่มีแนวความคิดเดียวกัน กับฝ่ายตรงข้าม เพื่อเป็นการแสวงความตกลงและทางออกของปัญหาซึ่งเป็นปัญหาที่มีผลกระทบในวงกว้างซึ่งหากปล่อยไว้อาจจะก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม


ความหมายที่แท้จริงนั้น "สัญญาประชาคม" หมายถึง ทฤษฎีสัญญาประชาคม อันเป็นนัยตามหลักกฎหมายธรรมชาติ มีลักษณะเป็น สำนึกของจริยธรรม ที่ผู้ปกครองควรตระหนักถึง สิทธิบางประการที่ผู้อยู่ใต้ปกครอง (ประชาคม) ได้ยอมสละไป (อาจเรียกได้ว่ายอมอยู่ใต้อำนาจของผู้ปกครอง) เพื่อความปลอดภัยของตนในสิทธิและเสรีภาพที่ยังคงเหลืออยู่ แนวคิดเช่นนี้เองที่เป็นพื้นฐานของการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย โดยตรรกกะจากสำนึกจริยธรรมดังกล่าว หากมองในมุมกลับกันก็หมายความว่า อำนาจแท้จริงของผู้ปกครองนั้นมาจากประชาชนนั่นเอง ดังนั้นประชาชนควรจะเป็นผู้ที่ใช้สิทธิของตนเลือกผู้ปกครองขึ้นมา และในการนี้วิธีที่เหมาะสมก็คือการใช้เสียงข้างมากในการตัดสิน


****มีนักคิดหลายคนที่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนในการริเริ่มแนวคิดเรื่องสัญญาประชาคม เช่น

(Thomas Hobbes) - กล่าวถึงในหนังสือ Leviathan (1651)

(John Locke) - กล่าวถึงในหนังสือ Two Treatises of Government (1689)

(Jean Jacques Rousseau) - กล่าวถึงในหนังสือ Du Contrat social (1762)

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

VintaGE style

Vintage ความหมาย คือการหมักบ่มไวน์ หรือ antique ที่แปลว่าเก่านั่นเอง

**Vintage ในความเข้าใจของโลกแฟชั่นก็คือการที่นำสิ่งของแฟชั่น เครื่องใช้ ที่ในยุคหนึ่งๆ เคยเป็นที่นิยมแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ในยุคปัจจุบัน


(ยุค marilyn monroe โด่งดังในยุค 50s-60s)

เปรียบกับการหมักบ่มไวน์ที่ยิ่งเก่าเท่าไหร่ก็ยิ่งรสดี แฟชั่น Vintage ก็สามารถกลับมาฮิตฮอตอีกได้แม้จะผ่านระยะเวลามายาวนาน

*****ดังนั้น แฟชั่น ที่เรียกว่า Vintage จึงดูกว้างมาก กล่าวได้ว่า อะไรก็ตามนิยม ในยุค 20s-90s และได้นำกลับมาใช้ใหม่นั้น

ก็ถือได้ว่าเป็น Vintage


แฟชั่น สไตล์ Vintage นอกจากจะดูงดงามแล้ว แต่ยังได้กลิ่นอายของความละเมียดละไม ดูมีความทรงจำและเรื่องราวของกาลเวลาติดมาด้วย