วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

อติพจน์


อติพจน์


เป็นการบรรยายหรือพรรณนาที่เกินจริง เพราะกวีจะมุ่งเน้นข้อความที่กล่าว ให้มีน้ำหนักมายิ่งขึ้นเพื่อสร้างอารมณ์สะเทือนใจให้แก่ผู้ดู ผู้ฟัง ผู้ชม หรือผู้อ่าน
***เพื่อนๆที่หลงเข้ามาบล็อคนี้จำไว้บ้างก็ดีนะคะ เผื่อข้อสอบไม่ว่าจะเป็นเอ็นทรานซ์ หรือ ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ถาม....จะได้ตอบได้


วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

Charles de Montesqieu


ชารล์ เดอ มองเตสกิเออร์

หรือ ชารล์ หลุยส์ เดอ เซกอง บารอน เดอ ลา เบร์ด เอ็ท เดอ มองเตสกิเออร์ (Charles Louis de Secondat, baron de la Brede et de Montesquieu)เกิด: ใกล้ บอกด์โดซ์ ในปี ค.ศ. 1689เสียชีวิต: ปารีส ในปี ค.ศ. 1755

มองเตสกิเออร์เป็นหนึ่งในบรรดาตัวแทนที่ทรงอิทธิพลและเป็นที่รู้จักในยุคภูมิธรรมในฝรั่งเศส ความสนใจในศาสตร์ต่างอันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ประวัติศาสตร์ ปรัชญา กฎหมาย และการเมือง ส่งผลให้เขาโลดแล่นอยู่บนเส้นทางอาชีพอันโดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษา นักการเมือง นักประพันธ์รวมทั้งนักคิดทางการเมือง ในฐานะนักวิชาการผู้ประสบความสำเร็จในประวัติศาสตร์การเมืองโบราณ เขาได้ประพันธ์งานเรื่อง “The Guardeur and Decadence of Romans” (1734) ในขณะเดินทางอย่างต่อเนื่องเพื่อศึกษาการพัฒนาทางการเมืองของยุโรป หลังจากพำนักอยู่ในอังกฤษเป็นเวลา 2 ปี และเป็นที่ชื่อชมของจอห์น ล็อค (John Lock) และรัฐสภาอังกฤษ มองเตสกิเออร์ได้ประพันธ์งานที่โด่งดังไปทั่วเรื่อง “The Spirits of the Laws” ซึ่งเป็นหนังสือที่เป็นที่กล่าวขวัญทั่วยุโรปหลังจากได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในปี ค.ศ. 1748 เป็นช่วงเวลาที่เขาได้สร้างสิ่งที่เป็นที่รู้จักในปัจจุบันนี้ กล่าวคือ ทฤษฎีแบ่งแยกอำนาจในระบอบการปกครองที่เสรีและใช้ได้จริง หากปราศจากการการคานอำนาจกันระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการก็จะไม่เกิดเสรีภาพและการป้องกันการใช้อำนาจในทางที่ผิด พื้นฐานแนวคิดดังกล่าวกลายเป็นต้นแบบของแนวคิดประชาธิปไตยเสรีที่นำมาใช้ในประเทศที่มีอารยะทั่วโลก แม้ว่าระบอบเผด็จการยังอยู่รอดอย่างดีมาด้วยก็ตาม
ความสนใจในแนวคิดเสรีนิยมโดยเฉพาะเป็นเครื่องเน้นย้ำให้เห็นถึงเสรีภาพทางการเมือง หลายคนมองว่าผลงานเรื่อง“Spirit of the Laws” ของเขานั้นเป็นการเริ่มต้นอย่างชาญฉลาดของแนวคิดการเมืองเสรีนิยมและให้ความสำคัญกับอิทธิพลของมองเตสกิเออร์ที่มีต่อหลักการของการตรวจสอบและคานอำนาจในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา

มองเตสกิเออร์กล่าวไว้อย่างน่าเชื่อถือว่าการมองอำนาจทางการเมืองจากความเป็นจริงว่ามีแนวโน้มที่จะนำไปใช้ในทางที่ผิดจากผู้มีอำนาจในมือทำให้เกิดการลดการตัดสินใจและการเพิ่มเติมระเบียบของกฎหมายที่ไม่สามารถอธิบายได้ ไม่เพียงในด้านความปลอดภัยส่วนตัวและพลประโยชน์ของพลเมืองเท่านั้น แต่รวมถึงผลประโยชน์และข้อได้เปรียบจากการแข่งขันที่มีต่อรัฐด้วย
มองเตสกิเออร์ยังเป็นต้นแบบในเศรษฐศาสตร์การเมืองจากการศึกษาความแตกต่างของการพัฒนาเศรษฐกิจของยุโรปและเอเชียรวมทั้งให้ความสำคัญกับการแข็งขันในตลาดเสรีเพื่อกำหนดราคาที่ถูกต้องให้แก่สินค้า

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกรีส – ยูเฟรทีส

**ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรทีสหรือ เมโสโปเตเมีย เป็นอู่อารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกสมัยโบราณ โดยตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ 2 สาย คือแม่น้ำไทกรีส (Tigris) และแม่น้ำยูเฟรตีส (Euphrates) ซึ่งปัจจุบันนี้ อยู่ในเขตแดนของประเทศอิรักซึ่งมีกรุงแบกแดด เป็นเมืองหลวง แม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์มีเนีย และเอเซียไมเนอร์ไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีส และยูเฟรตีส ตอนล่างเรียกว่าบาบิโลเนีย (Babylonia) เป็นเขตซึ่งอยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย
อาณาบริเวณที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย อาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ทะเลดำ และทะสาบแคสเปียน


ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดต่อกับ คาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดง และมหาสมุทรอินเดีย


ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ที่ราบซีเรีย และปาเลสไตน์


ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ที่ราบสูงอิหร่าน



**บริเวณแม่น้ำ ไทกริส-ยูเฟรติส หรือบริเวณประเทศอิรักในปัจจุบัน ในอดีตเป็นดินแดนที่มีร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน จนกลายเป็นอู่อารยธรรมของโลก ดินแดนแห่งนี้เป็นเขตที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีแม่น้ำ 2 สายมาบรรจบกัน จึงเหมาะต่อการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ จึงมีชื่ออีกอย่างว่าหนึ่ง ดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ (The Fertile Crescent) หรือวงโค้วแห่งความอุดมสมบูรณ์ หรือที่รู้จักกัน คือ ดินแดนเมโสโปเตเมีย

ดินแดนเมโสโปเตเมีย


ได้พบหลักฐานที่ยืนยันว่าดินแดนบริเวณนี้เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณในแถบเอเชียไมเนอร์ สองฝั่งแม่น้ำทั้งสองเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ตั้งแต่ ฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จนกระทั่งที่ไหลลงสู่อ่าวเปอร์เซีย เป็นแหล่งที่มีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เช่นเดียวกับประเทศอียิปต์ และผู้ที่เข้าครอบครองดินแดนแถบนี้ส่วนมากจะเป็นพวกเร่ร่อนในทะเลทราย ถ้ากลุ่มใดเข้มแข็งก็มีอำนาจปกครองอาณาบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ พวกที่อ่อนแอก็จะเร่ร่อนต่อไป หรืออยู่ในอำนาจผู้ที่แข็งแรงกว่า การปกครองแต่ละเมืองจึงเป็นแบบนครรัฐ มีอิสระ ชนชาติต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในแถบนี้มีหลายเผ่าพันธุ์ กลุ่มชนต่างๆ ที่สร้างสรรค์อารยธรรมและมีหลักฐานปรากฏอยู่ คือ

1. ชาวสุเมเรียน (Sumerians)

2. ชาวอมอไรต์ (Amorites)

3. ชาวอัสซีเรียน (Assyrian)

4. ชาวคาลเดียน (Chaldeans)

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

Jean Jacques Reusseau


สัญญาประชาคม


มีความคิดที่ขัดแย้งกับสภาพสังคมร่วมสมัยว่ามีแต่ความเสแสร้ง ฟุ้งเฟ้อ และบิดเบือน จนทำให้มนุษย์ไม่เป็นตัวของตัวเองและพยายามไขว่คว้าสิ่งจอมปลอมเหล่านั้น เขาชื่นชมในวิถีชีวิตในสมัยดึกดำบรรพ์ที่เรียบง่ายมีอิสระอย่างแท้จริง รุสโซ่ได้เสนอสังคมในอุดมคติไว้ในหนังสือ Social Contract ในปี ค.ศ.1762 ที่ให้ความสำคัญต่อเสรีภาพ ฉะนั้นสังคมและรัฐที่ดีจะต้องเคารพต่อเสรีภาพของประชาชน และเพื่อป้องกันการเผด็จการที่ไร้เสรีภาพมนุษย์ต้องเข้าร่วมก่อตั้งชุมชนทางสังคม (Social community) หรือรัฐขึ้นมาใหม่เพื่อให้เกิดความสงบและสามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยชุมชนทางการเมืองหรือรัฐตามแนวคิดของรุสโซ่จะมีลักษณะที่เป็นประชาธิปไตรที่ยึดหลักเจตนารมณ์ทั่วไป (General Will) อันเป็นเจตนารมณ์ที่มีเหตุผลเป็นพื้นฐาน ทำให้รัฐต้องปฏิบัติหน้าที่ทั้งปวงตามเจตนารมณ์ของประชาชนและเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เพราะฉะนั้นรัฐบาลจึงเป็นเพียงองค์กรที่มีหน้าที่ดำเนินนโยบายให้เป็นไปตามความต้องการที่แท้จริงของประชาชนส่วนใหญ่และให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนส่วนรวม



สัญญาประชาคมตามความหมายของรุสโซ่จึงหมายถึงการที่เอกชนทุกคนยอมยกสิทธิตามธรรมชาติของตนให้กับองค์อธิปัตย์ซึ่งก็คือเจตนารมณ์ทั่วไป หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นการมอบสิทธิตามธรรมชาติให้กับชุมชนส่วนรวม (Community) แต่การมอบสิทธิตามธรรมชาตินี้ไม่ได้ทำให้เอกชนเหล่านั้นต้องสูญเสียสิทธิตามธรรมชาติลงแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม ประชาชนเหล่านั้นกลับได้รับสิทธิที่ยิ่งใหญ่กว่ากลับคืนมา ในฐานะที่สิทธิตามธรรมชาติของตนได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเจตนารมณ์ทั่วไป จึงกล่าวได้ว่า การมอบสิทธิตามธรรมชาติของตนให้แก่รัฐนั้น แท้จริงก็เพื่อที่จะได้รับสิทธิกลับคืนมาในฐานะเจตนารมณ์ที่ไป
การปกครองที่ยึดหลักเจตนารมณ์ทั่วไปที่มุ่งสร้างความดีแก่ทุกคนในรัฐจะทำให้ผู้ปกครองปราศจากการสร้างผลประโยชน์เกิดขึ้นเฉพาะกับกลุ่มบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง รวมทั้งเพื่อตนเอง และเมือกราปกครองไม่ได้เป็นไปเพื่อบุคคลใดหรือกลุ่มใคเป็นพิเศษก็จะทำให้การปกครองระบบเผด็จการณ์ไม่สามารถเกิดขึ้นได้