อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรทีสหรือ เมโสโปเตเมีย เป็นอู่อารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกสมัยโบราณ โดยตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ 2 สาย คือแม่น้ำไทกรีส (Tigris) และแม่น้ำยูเฟรตีส (Euphrates) ซึ่งปัจจุบันนี้ อยู่ในเขตแดนของประเทศอิรักซึ่งมีกรุงแบกแดด เป็นเมืองหลวง แม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์มีเนีย และเอเซียไมเนอร์ไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีส และยูเฟรตีส ตอนล่างเรียกว่าบาบิโลเนีย (Babylonia) เป็นเขตซึ่งอยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย
อาณาบริเวณที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย อาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ทะเลดำ และทะสาบแคสเปียน
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดต่อกับ คาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดง และมหาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ที่ราบซีเรีย และปาเลสไตน์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ที่ราบสูงอิหร่าน
**บริเวณแม่น้ำ ไทกริส-ยูเฟรติส หรือบริเวณประเทศอิรักในปัจจุบัน ในอดีตเป็นดินแดนที่มีร่องรอยความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน จนกลายเป็นอู่อารยธรรมของโลก ดินแดนแห่งนี้เป็นเขตที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีแม่น้ำ 2 สายมาบรรจบกัน จึงเหมาะต่อการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ จึงมีชื่ออีกอย่างว่าหนึ่ง ดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ (The Fertile Crescent) หรือวงโค้วแห่งความอุดมสมบูรณ์ หรือที่รู้จักกัน คือ ดินแดนเมโสโปเตเมีย
ดินแดนเมโสโปเตเมีย
ได้พบหลักฐานที่ยืนยันว่าดินแดนบริเวณนี้เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณในแถบเอเชียไมเนอร์ สองฝั่งแม่น้ำทั้งสองเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ตั้งแต่ ฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จนกระทั่งที่ไหลลงสู่อ่าวเปอร์เซีย เป็นแหล่งที่มีการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เช่นเดียวกับประเทศอียิปต์ และผู้ที่เข้าครอบครองดินแดนแถบนี้ส่วนมากจะเป็นพวกเร่ร่อนในทะเลทราย ถ้ากลุ่มใดเข้มแข็งก็มีอำนาจปกครองอาณาบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ พวกที่อ่อนแอก็จะเร่ร่อนต่อไป หรืออยู่ในอำนาจผู้ที่แข็งแรงกว่า การปกครองแต่ละเมืองจึงเป็นแบบนครรัฐ มีอิสระ ชนชาติต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในแถบนี้มีหลายเผ่าพันธุ์ กลุ่มชนต่างๆ ที่สร้างสรรค์อารยธรรมและมีหลักฐานปรากฏอยู่ คือ
1. ชาวสุเมเรียน (Sumerians)
2. ชาวอมอไรต์ (Amorites)
3. ชาวอัสซีเรียน (Assyrian)
4. ชาวคาลเดียน (Chaldeans)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น