วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

Jean Jacques Reusseau


สัญญาประชาคม


มีความคิดที่ขัดแย้งกับสภาพสังคมร่วมสมัยว่ามีแต่ความเสแสร้ง ฟุ้งเฟ้อ และบิดเบือน จนทำให้มนุษย์ไม่เป็นตัวของตัวเองและพยายามไขว่คว้าสิ่งจอมปลอมเหล่านั้น เขาชื่นชมในวิถีชีวิตในสมัยดึกดำบรรพ์ที่เรียบง่ายมีอิสระอย่างแท้จริง รุสโซ่ได้เสนอสังคมในอุดมคติไว้ในหนังสือ Social Contract ในปี ค.ศ.1762 ที่ให้ความสำคัญต่อเสรีภาพ ฉะนั้นสังคมและรัฐที่ดีจะต้องเคารพต่อเสรีภาพของประชาชน และเพื่อป้องกันการเผด็จการที่ไร้เสรีภาพมนุษย์ต้องเข้าร่วมก่อตั้งชุมชนทางสังคม (Social community) หรือรัฐขึ้นมาใหม่เพื่อให้เกิดความสงบและสามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยชุมชนทางการเมืองหรือรัฐตามแนวคิดของรุสโซ่จะมีลักษณะที่เป็นประชาธิปไตรที่ยึดหลักเจตนารมณ์ทั่วไป (General Will) อันเป็นเจตนารมณ์ที่มีเหตุผลเป็นพื้นฐาน ทำให้รัฐต้องปฏิบัติหน้าที่ทั้งปวงตามเจตนารมณ์ของประชาชนและเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เพราะฉะนั้นรัฐบาลจึงเป็นเพียงองค์กรที่มีหน้าที่ดำเนินนโยบายให้เป็นไปตามความต้องการที่แท้จริงของประชาชนส่วนใหญ่และให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนส่วนรวม



สัญญาประชาคมตามความหมายของรุสโซ่จึงหมายถึงการที่เอกชนทุกคนยอมยกสิทธิตามธรรมชาติของตนให้กับองค์อธิปัตย์ซึ่งก็คือเจตนารมณ์ทั่วไป หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นการมอบสิทธิตามธรรมชาติให้กับชุมชนส่วนรวม (Community) แต่การมอบสิทธิตามธรรมชาตินี้ไม่ได้ทำให้เอกชนเหล่านั้นต้องสูญเสียสิทธิตามธรรมชาติลงแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม ประชาชนเหล่านั้นกลับได้รับสิทธิที่ยิ่งใหญ่กว่ากลับคืนมา ในฐานะที่สิทธิตามธรรมชาติของตนได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเจตนารมณ์ทั่วไป จึงกล่าวได้ว่า การมอบสิทธิตามธรรมชาติของตนให้แก่รัฐนั้น แท้จริงก็เพื่อที่จะได้รับสิทธิกลับคืนมาในฐานะเจตนารมณ์ที่ไป
การปกครองที่ยึดหลักเจตนารมณ์ทั่วไปที่มุ่งสร้างความดีแก่ทุกคนในรัฐจะทำให้ผู้ปกครองปราศจากการสร้างผลประโยชน์เกิดขึ้นเฉพาะกับกลุ่มบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง รวมทั้งเพื่อตนเอง และเมือกราปกครองไม่ได้เป็นไปเพื่อบุคคลใดหรือกลุ่มใคเป็นพิเศษก็จะทำให้การปกครองระบบเผด็จการณ์ไม่สามารถเกิดขึ้นได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น