วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เกาะเกร็ด นนทบุรี


ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ หลังจากได้ดำเนินการขุดคลองมหาชัยได้แล้วเสร็จในปี จ.ศ.๑๐๘๓ แล้ว ในปีถัดมาได้มีพระราชดำริให้ขุดคลอง เตร็ดน้อย ลัดคุ้งปากคลองบางบัวทองซึ่งอ้อมมากให้เป็นเส้นตรง จากบริเวณใกล้ๆ ท่าเรือปากเกร็ด ตรงไปผ่านหน้า วัดสนามเหนือ วัดกลางเกร็ด ไปทางวัดเชิงเลนซึ่งแต่แรกขุดนั้นเป็นคลองลัดเกร็ด(หรือเตร็ดหมายถึงลำน้ำเล็กลัดเชื่อมลำน้ำสายใหญ่สายเดียวกัน ) นั้น มีขนาดกว้างเพียง ๖ วา ลึก ๖ ศอก ยาว ๒๙ เส้น แต่เนื่องจากแรงของกระแสน้ำที่ไหลพัดผ่านนั้นแรงมาก จึงได้พัดเซาะตลิ่งพังและขยายความกว้างขึ้นมา จนในปัจจุบันจึงได้กลายเป็น แม่น้ำลัดเกร็ด ไปแล้ว และพื้นที่บนแผ่นดินเดิมซึ่งมีลักษณะเป็นแหลมที่ยื่นออกไปโดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเป็นรูปเกือกม้า ก็กลายเป็นเกาะไป จึงเรียกว่า เกาะเกร็ด ส่วนตรงปากทางที่ขุดก็เรียกว่า ปากเกร็ด
ด้วยประการฉะนี้ ความจริงปากเกร็ดนั้นเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวอยู่หลายแห่ง อาทิเช่นที่ วัดกู้ วัดตำหนักใต้ หรือ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ เป็นต้น และในละแวก ปากเกร็ด ก็มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่นวัดบ่อ ท่าเรือปากเกร็ด ตลาดริมทางเท้าที่อยู่บริเวณใกล้เคียง วัดสนามเหนือและวัดกลางเกร็ด ถ้าจะข้ามไปยัง เกาะเกร็ด ก็จะได้ชมวัดวาอาราม พิพิธภัณฑ์ฯ ศูนย์การผลิตเครื่องปั้นดินเผา ชมสินค้าและวิถีชีวิตชาวมอญแถบนั้น ซึ่งอยู่กันอย่างเรียบง่ายและดำรงรักษ์ไว้ซึ่งวัฒนธรรมเดิม ถ้าท่าน ล่องเรือ รอบๆ เกาะ ก็สามารถแวะบ้านขนมหวานในคลองบางบัวทองเพื่ออุดหนุน ขนมหวานแบบไทยๆ รสชาติอร่อยด้วย..
สำหรับชาวกรุงเทพ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่อยู่ไม่ไกลจากเมืองหลวง คือ เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เกาะเกร็ดเป็นเกาะขนาดใหญ่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นชุมชนที่เจริญมาตั้งแต่ ปลายสมัยอยุธยา วัดต่างๆ ที่สร้างขึ้นบนเกาะเป็นโบราณสถานที่สวยงามสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายทั้งสิ้น มีฐานะเป็นตำบลแบ่งเขตการปกครองเป็นหมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น 7 หมู่บ้าน เกาะเกร็ดเกิดขึ้นจากการขุดคลองลัดลำน้ำเจ้าพระยาตรงส่วนที่เป็นแหลมยื่นไปตามความโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยา ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระแห่งกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.2265 เรียกคลองนี้ว่า “คลองลัดเกาะน้อย” ต่อมากระแสน้ำได้เปลี่ยนทิศทางทำให้คลองขยายกว้างขึ้น เพราะถูกแรงของกระแสน้ำเซาะตลิ่งพัง จึงกลายเป็นแม่น้ำและเกาะเกร็ดมีสภาพเป็นเกาะเช่นปัจจุบัน
สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในเกาะเกร็ด



วัดปรมัยยิกาวาส ตั้งอยู่ตำบลเกาะเกร็ด เยื้องท่าเนือสุขาภิบาลปากเกร็ดไปทางใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร และอยู่ตรงข้ามกับท่าเรือวัดสนามเหนือเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร สร้างแบบรามัญ เดิมวัดนี้เป็นวัดเก่าชื่อวัดปากอ่าว ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งวัด และโปรดให้สร้างพระเจดีย์รามัญ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระราชทานนามว่า วัดปรมัยยิกาวาสเนื่องจากศิลปะที่สร้างมีลักษณะแบบมอญ พระเจดีย์ทุกองค์สร้างแบบมอญ และพระพุทธรูปพระประธานในโบสถ์สลักด้วยหินอ่อนแบบมอญด้วย จึงเรียกกันว่า “วัดมอญ” ภายในวัดมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง และบานประตูหน้าต่างโบสถ์ประดับลายปูนปั้นสวยงาม

วัดเสาธงทอง ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเกร็ด เป็นวัดโบราณเดิมชื่อ วัดสวนหมาก ศิลปะสมัยอยุธยาที่มีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองขนาดใหญ่ อยู่หลังโบสถ์เป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในเขตอำเภอปากเก็ด ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่มีเจดีย์องค์เล็กเป็นเจดีย์บริวารโดยรองอีก 2 ชั้น ด้านข้างโบสถ์มีเจดีย์องค์ใหญ่อีก 2 องค์ องค์หนี่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังกลม อีกองค์หนึ่งมีรูปผแปลกมีฐานเหลี่ยม องค์ระฆังทำเป็นทรงกลมสูง ภายในโบสถ์มีลายเพดานสวยงามมาก เป็นลายทองเขียนลายกรวยเชิงอย่างงดงาม พระประธานเป็น พระปางมารวิชัย ปูนปั้น ขนาดใหญ่องค์หนึ่งในจังหวัดนนทบุรี คนมอญเรียกวัดนี้ว่า เพี๊ยะอาล๊าต




วัดฉิมพลี ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเกร็ด มีโบสถ์ขนาดล็กงดงามมาก และยังมีสภาพสมบูรณ์แบบเดิมเป็นส่วนใหญ่ หน้าบันจำหลักไม่เป็นเทพทรงราชรถ ล้อมรอบด้วยลายดอกไม้ ซุ้มประตูยอดมณฑป ซุ้มหน้าต่างแบหน้านาง ยังคงให้เห็นความงามอยู่ ฐานโบสถ์โค้งแบบเรือสำเภา




วัดไผ่ล้อม เป็นวัดที่สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเกร็ด มีโบสถ์ที่งดงามมาก ลายหน้าบันจำหลักไม้เป็นลายดอกไม้ มีคันทวยและบัวหัวเสาที่งดงามเช่นกัน หน้าโบสถ์มีเจดีย์ขนาดย่อมสององค์รูปทรงแปลก ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง แต่ละองค์ระฆังทำเป็นรูปบาตรคว่ำ มียอดทรงกลม ประดับลายปูนปั้นอย่างงดงามมาก คนมอญเรียกวัดนี้ว่า “เพี๊ยะโต้”



ศูนย์วัฒนธรรมพื้นบ้านชาวมอญ ตั้งอยู่ที่ด้านซ้ายของวัดปรมัยยิกาวาส ห่างจากวัดประมาณ 100 เมตร เป็นสถานที่แสดงภาชนะเครื่องปั้นดินเผาแบบรามัญ รูปทรงต่างๆ ฝีมือประณึตสวยงาม เช่น หม้อน้ำ นอกจากนี้ยังมีการแสดงวิธีการปั้นและจำหน่ายสินค่าเครื่องปั้นดินเผาด้วย เปิดให้ชมทุกวัน


หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผา ตั้งอยู่บริเวณสองบ้างทางเดินรอบเกาะเกร็ดทั้งด้านซ้าย และด้านขวาของวัดปรมัยยิกาวาส เป็นหมู่บ้านที่ทำเครื่องปั้นดินเผาภาชนะของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น กระถาง ครก อ่างน้ำ เป็นต้น แหล่งใหญ่และเก่าแก่ของจังหวัดนนทบุรี สามารถชมขั้นตอนต่างๆในการทำเครื่องปั้นดินเผ่าตั้งแต่การเตรียมดินจนถึงวิธีการนำเข้าเตาเผา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น